วิธีการดูแลตัวเอง หากเกิดอุบัติเหตุที่ทางข้อเท้าที่เกิดจากการวิ่ง

257 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีการดูแลตัวเอง หากเกิดอุบัติเหตุที่ทางข้อเท้าที่เกิดจากการวิ่ง

วันนี้ นพ.เมธี คงเผ่าพงษ์
แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
ชำนาญพิเศษด้านเท้าและข้อเท้า
(Foot And Ankle Orthopedic Surgeon)

 

มาบอกวิธีการดูแลตัวเอง หากเกิดอุบัติเหตุที่ทางข้อเท้าที่เกิดจากการวิ่ง


ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ ฤดูของเทศกาลวิ่งกันอีกแล้วนะครับ สำหรับนักวิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะระยะสั้น กลาง หรือ ระดับมาราธอน คงได้เริ่มฝึกและเตรียมตัวกันไปแล้วพอสมควร


แต่อย่างไร ก็ให้ระวังอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด และอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ โดยเฉพาะการบาดเจ็บของเท้าและข้อเท้านะครับ วันนี้เราจะมาพูดกันถึง ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง(ankle sprain) การบาดเจ็บที่มักพบบ่อยเลย ไม่ว่าจะจากการวิ่ง การเล่นกีฬา หรือในชีวิตประจำวัน


ข้อเท้าแพลง มักพบจากการเดิน วิ่ง แล้วสะดุดบนพื้นที่ไม่เรียบ ขรุขระ ขึ้นลงบันได หรือ บนรองเท้าส้นสูงในผู้หญิง ส่วนนักวิ่ง นักกีฬา ก็พบได้บ่อยทั้งจากการวิ่งแล้วล้มเอง หรือ จากการปะทะกับคู่แข่ง


ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นข้อเท้าขึ้นผู้ป่วย มักมีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้อเท้า โดยเฉพาะบริเวณตาตุ่มด้านนอกข้อเท้า และมักจะเดินต่อไม่ไหวในกรณีบาดเจ็บรุนแรง


สำหรับความรุนแรง ของข้อเท้าแพลง สามารถแบ่งเป็น 3 ระดับคร่าวๆ


ระดับ 1 ข้อเท้าแพลงชนิดไม่รุนแรง มีการบาดเจ็บแต่ไม่มีการฉีดขาดของเอ็นข้อเท้าชัดเจน มักมีอาการปวด บวม แต่ยังสามารถเดินต่อไปได้
ระดับ 2 ข้อเท้าแพลง ชนิดรุนแรงปานกลาง มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นบางส่วน ทำให้นอกจากปวดบวมแดง ยังทำให้เสียความมั่นคงของข้อเท้าข้างนั้นบางส่วน ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่สามาถเดินวิ่งต่อ เพราะอาการปวด
ระดับ 3 ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง คือ มีการฉีดขาดของเอ็นข้อเท้าทุกเส้นบริเวณตาตุ่มด้านนอก ทำให้เกิดการสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้าด้านนั้นผู้ป่วยจะไม่สามารถยืน หรือ เดินได้ จากอาการปวดมาก และการสูญเสียความมั่นคงของข้อเท้าข้างนั้นไป


การดูแลรักษาข้อเท้าแพลงเบื้องต้น

Protection คือ ป้องกันไม่ให้เกิด การบาดเจ็บที่รุนแรงมากขึ้น ไม่ลงน้ำหนักเท้าข้างนั้น, การใช้ไม้เท้าช่วยพยุง หรือ การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อเท้า


Rest คือ การพัก หยุดกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติม หลีกเลี่ยงการ กด นวด บริเวณนั้น


Ice คือ การประคบเย็น อาจใช้ถุงเย็นสำเร็จรูป หรือ ถุงน้ำแข็งประคบบริเวณที่บาดเจ็บ ควรประคบผ่านผ้า ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบโดยตรงบนผิวหนัง สามารถประคบได้นาน 15-20นาที โดยความเย็นจะช่วยลดอาการบวมในระยะแรก


Compression คือ การรัดกระชับด้วยผ้ายืด หรือ ผ้าพันแผล เพื่อลดอาการบวม และลดการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นที่บาดเจ็บ ไม่ควรรัดแน่นเกิดไป เพราะอาจส่งผลต่อการไหวเวียนของเส้นเลือดได้


Elevation คือ การยกเท้าที่บาดเจ็บให้สูง พยายามให้ได้ระดับของหัวใจ เพื่อลดอาการบวมจากการที่เลือดไหลกลับหัวใจดีขึ้น


หากพบว่า หลังจากการดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือ ยังมีการบาดเจ็บอีก แนะนำให้มาพบแพทย์ เฉพาะทางเพื่อ การตรวจ วินิจฉัย ที่ละเอียดและถูกต้องมากขึ้น


สอบถามและสำรองคิว
สาขาบางพระ 089-776-0151
สาขาบ่อวิน 061-225-2630
Facebook : Medispine Clinic กระดูกข้อ กายภาพบำบัดครบวงจร ชลบุรี


ที่ตั้งสาขาบางพระ  : 200/29 ม.3 ถ.สุขุมวิท ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
Google Maps


ที่ตั้งสาขาบ่อวิน  : 276/682 หมู่ 3 ถนนห้วยปราบ-พันเสด็จใน ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230
Google Maps

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้