ภาวะเท้าแบนเกิดจากอะไร? เราจะสังเกตและดูแลอย่างไร?

485 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะเท้าแบนเกิดจากอะไร? เราจะสังเกตและดูแลอย่างไร?

ปัญหาภาวะเท้าแบนเกิดจากอะไร?   เราจะสังเกตและดูแลอย่างไร?

นพ.เมธี คงเผ่าพงษ์
แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
ชำนาญพิเศษด้านเท้าและข้อเท้า มีคำตอบ 

เท้าแบน (flat feet)

 ภาวะเท้าแบน คือ ภาวะที่อุ้งเท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างหายไป หรือ แบนลง ทำให้ฝ่าเท้าสัมผัสพื้นมากขึ้นขณะยืน หรือ เดิน คนเท้าแบนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการให้เห็น แต่ก็ยังมีคนเท้าแบนบางส่วนที่มีอาการ เช่น ปวดฝ่าเท้า ปวดน่อง ซึ่งควรได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ในเด็กที่มีภาวะเท้าแบนแรกเกิด มักหายได้เองภายใน 6 ปี แต่ก็ยังมีเด็กอีกประมาณ 20% ที่จะยังคงเท้าแบนต่อไปจนโตเป็นผู้ใหญ่

คุณสามารถตรวจเช็คด้วยตัวคุณเอง ว่าคุณมีภาวะเท้าแบนหรือไม่ 

 ตรวจดูอุ้งเท้าด้านใน (medial arch) ของคุณ ขณะยืน ถ้าคุณเท้าแบน ฝ่าเท้าจะสัมผัสพื้นเกือบทุกส่วน

ถ้าเท้าคุณไม่แบน คุณจะยังคงเห็นอุ้งเท้าด้านในขณะยืน 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย 

1. พันธุ์กรรม ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก

2. ภาวะอุ้งเท้าอ่อนตัวผิดปกติ(weak arch) และภาวะส้นเท้าบิดผิดรูป (valgus heel)

3. มีประวัติการบาดเจ็บของเท้าและข้อเท้า

4. ภาวะเอ็นร้อยหวายตรึงหรือเคยได้รับการบาดเจ็บ

5. โรคข้อ เช่น โรครูมาตอยด์ หรือ ข้อเสื่อมตามอายุขัย

6. การบาดเจ็บของเอ็นพยุง อุ้งเท้า (posterior tibial tendon)

7. อายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน

8. ภาวะอื่นๆ เช่น ความผิดปกติของระบบสมองและเส้นประสาท, กระดูกเชื่อมผิดปกติ,เบาหวาน,การยืนหรือเดินในระยะเวลานานๆ หรือ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจนทำให้เท้าแบน


อาการที่พบบ่อยและควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา 

1. การอักเสบ บวม แดง ร้อน ของเท้าข้างนั้น

2. ปวดล้า บริเวณอุ้งเท้า อาจลามไปข้อเท้า และ น่องข้างเดียวกัน อาการแย่ลงเมื่อยืน หรือ ใช้งานมากขึ้น

3. เริ่มมีลักษณะการเดินผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับข้างตรงข้าม

4. ถ้าปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน อาจมีปวดลามไปถึง เข่า สะโพก และ หลัง ได้

5.ในเด็กชั้นอนุบาล หรือประถม อาจเริ่มมีอาการปวด บริเวณอุ้งเท้า และ น่อง เมื่อเริ่มออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาในชม.พละศึกษา


การดูแลรักษาเบื้องต้น 

1. ในกรณีที่มีการอักเสบของเท้า แนะนำให้ พักการใช้งาน,ประคบเย็นได้ 10-20 นาที, พันผ้ายืดหรือ การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น walking boot หรือ เฝือก และ ยกเท้าสูงเพื่อลดอาการบวม (RICE)

2. ทานยาลดปวด และ ลดบวม เช่น พาราเซตามอล หรือ กลุ่ม NSAID

3. ลดการใช้งานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ยืน เดินน้อยลง ไม่เดินเท้าเปล่า

 ในกรณีการดูแลรักษาเบื้องต้น แล้วอาการไม่ทุเลาลง แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดของเรา จะทำการดูแลรักษาท่านสุดความสามารถ เช่น

1. การกายภาพบำบัดลดอาการ ปวด บวม การบริหารยืดเอ็นบริเวณเท้า และ ข้อเท้า

2. การบริหารยืดเอ็นร้อยหวาย

3. การเสริมแผ่นรองบริเวณอุ้งเท้า หรือ การตัดรองเท้าสุขภาพสำหรับเท้าแบนโดยเฉพาะ

4. ในกรณีการรักษาข้างต้นทั้งหมดไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัด เป็นรายเคสแล้วแต่ความเหมาะสม


สอบถามและสำรองคิว
สาขาบางพระ 089-776-0151
สาขาบ่อวิน 061-225-2630
Facebook : Medispine Clinic กระดูกข้อ กายภาพบำบัดครบวงจร ชลบุรี


ที่ตั้งสาขาบางพระ   : 200/29 ม.3 ถ.สุขุมวิท ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
Google Maps

ที่ตั้งสาขาบ่อวิน  :  276/682 หมู่ 3 ถนนห้วยปราบ-พันเสด็จใน ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230
Google Maps

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้